วิสาขามหาอุบาสิกา (สุเมธายอดนารี)
ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔, ๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉัน จงแตกเป็น ๗ เสี่ยง
วิสาขามหาอุบาสิกา (อดีตชาติของวิสาขา).
บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ชอบ กล่าววาจาชอบ งานชอบด้วยกาย ผู้มีการสดับมาก ทำบุญไว้มาก ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้ บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิสาขามหาอุบาสิกา (สร้างบุพพาราม)
นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จากกองดอกไม้แม้ฉันใด มัจจุสัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น
วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาลดาปสาธน์)
ผู้ที่มาเกิดแล้ว จำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมใดไว้ คือ เป็นบุญและเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไปสู่ปรโลก บุญและบาปนั้น ย่อมจะติดตามตัวเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงบำเพ็ญบุญ สะสมกรรมดีไว้เป็นสมบัติในปรโลก เพราะว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
มหาเศรษฐีกากวฬิยะ
ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อยที่บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในภพปัจจุบัน
ปุณณเศรษฐี ผู้ไถนาเป็นทอง
บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
วิสาขามหาอุบาสิกา (โอวาท ๑๐)
การสงเคราะห์บุตรและภรรยา เป็นอุดมมงคล
ชฎิลเศรษฐี ผู้มีภูเขาทอง
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของที่จะให้มีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ การให้ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ ยิ่งเป็นการดี และความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วจะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงไม่ให้ แล้วบริโภคเสียเอง อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๖)
ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวกมนุษย์ พวกโคก็ไปสู่ฝูงโค บรรพชิตก็ไปสู่สำนักของบรรพชิต บัณฑิตก็เข้าไปหาพวกบัณฑิต